วันศุกร์, ธันวาคม 13, 2024

เก้าอี้เพื่อสุขภาพ ราคาถูก –  เคยเป็นหรือไม่ ? นั่งทำงานไปนาน ๆ แล้วรู้สึกปวดเมื่อยช่วงเอว หรือหลัง สาเหตุหลัก ๆ เกิดจากการที่เก้าอี้สำนักงานที่เรานั่ง ไม่รองรับส่วนเว้า ส่วนโค้งของช่วงหลังและลำตัว เกิดช่องว่างระหว่าง ช่วงลำตัวกับพนักพิง เมื่อนั่งแบบนี้ไปนาน ๆ จึงทำให้เรารู้สึกปวดเมื่อยตรง ส่วนนั้นมากกว่าส่วนอื่น ๆ ส่งผลเสีย ต่อสุขภาพเอวและหลังในระยะยาว

การเลือกซื้อ เก้าอี้เพื่อสุขภาพ ต้องคำนึงถึงคุณบัติอะไรบ้าง

  • ความสูงของที่นั่ง: ปกติส่วนใหญ่แล้วระดับความสูงของ เก้าอี้สำนักงานเพื่อสุขภาพ สำหรับสรีระคนส่วนใหญ่จะอยู่ในระดับประมาณ 16 – 21 นิ้ว ซึ่งถือเป็นระดับมาตรฐานทั่วไป เพราะฉะนั้นเก้าอี้ทำงานเพื่อสุขภาพที่ดี ควรจะสามารถปรับระดับความสูง – ต่ำ ของเบาะนั่งจากพื้นให้อยู่ในระยะนี้ได้
  • ความกว้างและลึกของเบาะ: หากเก้าอี้สำนักงานมีขนาดความกว้างที่แคบ หรือลึกจนเกินไป ก็อาจทำให้สรีระการนั่งผิดรูปได้ เก้าอี้สำนักงานที่ดีควรมีขนาดความกว้างและลึกของเบาะให้อยู่ในระดับที่พอดี เพื่อความสบายต่อการนั่งนาน ๆ โดยระยะมาตรฐานทั่วไปตามหลักควรจะอยู่ที่ประมาณ 17 – 20 นิ้ว และระดับความลึกของเบาะก็ควรอยู่ที่ประมาณ 2 – 4 นิ้ว ซึ่งทำให้ร่างกายส่วนหลังและเข่าตั้งฉากอยู่ในระดับที่พอดีกัน หากลึกเกินไปก็อาจทำให้เจ็บแผ่นหลังได้ในระยะยาว
  • ที่รองหลัง: ที่รองหลัง (Lumbar Support) จัดว่าเป็นส่วนสำคัญของ เก้าอี้เพื่อสุขภาพ ที่ดี ซึ่งมันจะทำหน้าที่รองรับน้ำหนักตรงบริเวณกระดูกหลังส่วนล่าง ซึ่งหากไม่มีที่รองหลังคอยซัพพอร์ตไว้ เมื่อนั่งท่าเดิมเป็นเวลานาน ๆ ก็อาจทำให้เกิดอาการเจ็บหลังได้ และ เก้าอี้เพื่อสุขภาพ หรือเก้าอี้สำนักงานที่ดี มักจะมาพร้อมกับ ที่รองหลังแบบปรับระดับได้ เพื่อรองรับขนาดสรีระ ของผู้ใช้งานที่แตกต่างกันออกไป
  • วัสดุที่ใช้ทำเบาะ: วัสดุที่นำมาใช้ทำเบาะ ก็ถือว่ามีผลต่อการนั่งนาน ๆ ของผู้ใช้งานเช่นกัน เก้าอี้สำนักงานที่ดี จำเป็นที่จะต้อง มีการนำวัสดุที่มีความหนานุ่ม รองรับแรงกดทับจากการนั่งได้ดี ให้ความรู้สึกที่สบาย และมีการออกแบบสำหรับระบายอากาศ
  • ที่พักแขน: สำหรับเก้าอี้สำนักงานที่ถูกออกแบบมาเพื่อสุขภาพที่ดี ส่วนใหญ่แล้วจะสามารถปรับระดับที่พักแขนให้รองรับกับความถนัดของแต่ละคนได้ โดยผู้ใช้งานจะสามารถปรับให้ความสูงอยู่ ในระดับที่รู้สึกสบายที่แขน และผ่อนคลายตรงไหล่ ข้อศอกและแขนล่างไม่ควรเกร็ง และแขนของผู้ใช้งานก็ไม่ควรอยู่ในระยะที่สัมผัสกับที่วางแขนได้เมื่อใช้แป้นพิมพ์
  • ตัวล็อค และตัวปรับระดับ: อีกหนึ่งส่วนสำคัญของ เก้าอี้เพื่อสุขภาพ ราคาถูก ที่ดี โดยผู้ใช้งานจะต้องสามารถใช้งานที่หมุนปรับระดับได้อย่างง่าย ๆ และการออกแบบตัวล็อคของเก้าอี้ ก็ต้องไม่หละหลวมจนเกินไป สามารถเคลื่อนย้ายขณะนั่งได้อย่างมั่นคง

 

ลักษณะการนั่งทำงาน ลดอาการปวดหลัง

ศีรษะต้องตั้งตรง ไม่ยื่นไปข้างหน้าหรือเงยไปด้านหลังมากเกินไป โดยระยะสายตาถึงหน้าจอคอมพ์ ประมาณ 40-75 เซนติเมตร จุดกึ่งกลางของจอคอมพิวเตอร์ควรต่ำจากระดับสายตาลงมา 15 เซนติเมตร เก้าอี้สูง 38-55 เซนติเมตร หัวไหล่ต้องไม่ยกขึ้น ที่วางแขนต้องพอดีกับโต๊ะ หลังตั้งตรงหรือพิงพนักเล็กน้อย ข้อมือและแขนอยู่ ระนาบเดียวกับแป้นพิมพ์และเมาส์ นั่งให้เต็มก้น เข่ากับสะโพกตั้งฉากกัน 90 องศา

วิธีการเลือก เก้าอี้ทำงานเพื่อสุขภาพ ราคาถูก

ปัจจุบันมี เก้าอี้นั่งทำงาน หลายรุ่นมากทีเดียว แน่นอนว่าบางดีไซน์อาจจะดูสวยงามเหมาะกับบ้านของเรา แต่ทว่าก็อาจจะไม่เหมาะกับการนั่งทำงานเสมอไป วันนี้เลยขอนำวิธี เลือกเก้าอี้นั่งทำงานมาฝากกัน ไว้เป็นทริกสำหรับตัดสินใจก่อนซื้อ

1.เบาะนั่ง ก่อนซื้อควรลองนั่งดูก่อน โดยเลือกเบาะที่มีขนาดพอดี นั่งแล้วไม่รู้สึกคับแคบหรืออึดอัด แต่ก็ไม่ควรเลือกเบาะขนาดใหญ่เกินไป และเวลานั่งหลังต้องชิดพอดีกับพนักพิงเบาะ เพราะการพิงไม่ถึงและเอนตัว ไปด้านหลังจะทำให้หลังงอ ส่วนความลึกของเบาะต้อง ไม่มากกว่าช่วงต้นขาเพื่อให้นั่งทำงานได้สบาย เบาะต้องไม่นุ่มหรือเป็นแอ่ง เพราะส่งผลให้กระดูกเชิงกรานบิดงอ

2.ที่วางแขน ที่วางแขนจะช่วยรองรับ แขนระหว่างการใช้งานคอมพิวเตอร์ ช่วยให้เราดันตัวระหว่างนั่งให้ยืดตรงและช่วยค้ำพยุงตัวเวลาลุกไปไหนมาไหนได้ ถ้าหากสามารถปรับ ที่วางแขนให้สูง-ต่ำได้ด้วยยิ่งดี เพื่อให้ข้อศอกงอในมุมที่เหมาะและสามารถวางแขนบนโต๊ะทำงานได้อย่างสบาย หรือทั้งเลื่อนขึ้น-ลงและกางออกสำหรับคนตัวใหญ่ โดยที่วางแขนควรมีความกว้างอย่างน้อย 2 นิ้ว แต่สำหรับคนที่ไม่มีความจำเป็นต้องใช้งานคอมพิวเตอร์อาจไม่ต้องมีที่เท้าแขน หรือมีเท้าแขนแบบไม่มีที่ปรับระดับก็ได้ ที่สำคัญหากเลือกซื้อเก้าอี้ทำงาน ที่มีที่เท้าแขนหลังจากซื้อโต๊ะทำงานแล้ว ควรวัดขนาดโต๊ะทำงานไปก่อน เพื่อให้สอดเก็บใต้โต๊ะได้ด้วย เพื่อความเป็นระเบียบ

3.พนักพิงและที่รองคอ การมีที่รองคอและพนักพิงหลัง สามารถทำให้เรานั่งทำงานได้อย่างยาวนาน ไม่เมื่อยหลัง ไม่เกร็งหลัง หลังไม่งอ ทั้งนี้ พนักพิงหลังที่ดีควรมีลักษณะเอนไปด้านหลังเพียงเล็กน้อย ประมาณ 110-130 องศา และควรมีความสูงเพียงระดับไหล่หรือต่ำกว่าเล็กน้อย หากพนักพิงไม่พอดีกับสรีระสามารถใช้หมอนหนุน เพื่อให้ได้ความหนาตามต้องการ

4.ความสูงของเก้าอี้ที่เหมาะสม การเลือกเก้าอี้นั่งทำงานที่ดี ควรเลือกแบบมีโช้คสามารถปรับระดับความสูง-ต่ำได้เพื่อให้เหมาะสมกับสรีระ หากความสูงของเก้าอี้ทำงานมีความต่ำหรือสูงไป จะทำให้เกิดอาการปวดหลัง ปวดไหล่ หรือปวดสะโพกได้ โดยวิธีเช็กความสูงของระดับเก้าอี้ว่าพอเหมาะหรือไม่ให้สังเกตเวลานั่งควรให้เท้าวางแนบกับพื้นพอดี ต้นขาขนานกับพื้น ทั้งนี้ หากมีเหตุสุดวิสัยโดยปรับความสูงให้พอเหมาะกับโต๊ะทำงานแล้ว แต่เท้าก็ลอยเหนือพื้น วิธีแก้คือหาที่วางพักเท้าช่วยรับน้ำหนัก เพื่อให้ช่วงเข่าและขาผ่อนคลาย ไม่ปวดเมื่อย

5.วัสดุ วัสดุภายในที่ทำเบาะรองนั่ง ส่วนใหญ่จะใช้ฟองน้ำหรือโฟมหลากแบบ ทั้งนี้ ควรเลือกโฟมที่มีความหนาแน่นสูง เพราะจะมีความแข็ง ไม่ยุบตัวหรือเปื่อยยุ่ยง่าย หรือเรียกว่า Memory Foam ที่นิยมใช้ทำเตียงราคาสูง ความพิเศษคือสามารถรับน้ำหนักตัว และป้องกันการกดทับของเส้นเลือดที่ขาจากการนั่งนาน ๆ ทำให้เลือดไหลเวียนได้ดีอยู่เสมอ สำหรับวัสดุห่อหุ้มภายนอกหลัก ๆ มีอยู่ 4 ชนิด ได้แก่ ผ้า หนังเทียม หนังแท้ และตาข่าย (แบบไม่ต้องหุ้ม) คุณสมบัติวัสดุหุ้มแต่ละชนิด มีทั้งจุดเด่นและจุดด้อยแตกต่างกัน โดยหนังแท้มี ความสวยงามและทนกว่าหนังเทียม และทั้งหนังแท้และหนังเทียม ทำความสะอาดและดูแลรักษาง่ายกว่าผ้า แต่ผ้าระบายอากาศได้ดีกว่า และยังเล่นลายและ มีสีให้เลือกเยอะกว่า ส่วนตาข่ายจะเน้นดีไซน์ที่ทันสมัย และยังระบายอากาศได้ดี

วิธีนั่งที่ถูกต้องช่วยลดอาการเมื่อย

(1) นั่งหลังตรงและนั่งให้เต็มก้น คือหลังตรงชิดขอบด้านในของเก้าอี้ การนั่งพิงพนัก ช่วยเรื่องการจัดระเบียบหลัง ทำให้หลังตรงโดยอัตโนมัติตามแนวของพนักพิง แต่ถ้าไม่ได้นั่งพิงพนัก ต้องพยายามฝึกนั่งหลังตรงตลอดเวลา

(2) ยืดไหล่ ตั้งคอตรงหากที่นั่งของเก้าอี้ลึกเกิน อาจจะหาหมอนหนุน เพื่อช่วยให้หลังตรงได้

(3) ควรเลือกขนาดของโต๊ะและเก้าอี้ให้ เหมาะสมพอดีกับสรีระ สะโพกและขาต้องตั้งฉากกัน หากเก้าอี้สูงเกินไปและปรับระดับไม่ได้ ควรหาม้านั่งตัวเล็กไว้ใต้โต๊ะเพื่อวางเท้า

(4) ควรปรับระดับจอภาพของอุปกรณ์ที่ใช้ให้อยู่ในระดับสายตา จอภาพ ให้ห่างจากสายตาประมาณ 12-18 นิ้ว ขณะเดียวกัน แป้นคีย์บอร์ด ก็ควรวางอยู่ในระดับเดียวกับข้อศอกและข้อมือ

 

            หลังจากที่ได้เรียนรู้วิธีการเลือก เก้าอี้ทำงานสุขภาพ ที่ตอบโจทย์การใช้งานให้เหมาะสมกับคุณแล้ว ข้อแนะนำต่อจากนี้ คือ การดูแลเอาใจใส่ตัวเอง อย่าหักโหมนั่งทำงาน เป็นเวลานานจนเกินไป ควรแบ่งเวลาเพื่อออกกำลังกาย พักผ่อนให้เพียงพอ และไม่ควรโหมทำงานหนัก จนหามรุ่งหามค่ำ รวมถึงพักสายตาจาก หน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นระยะ ๆ ด้วย เพื่อลดโอกาสการเกิดโรคออฟฟิศซินโดรม และป้องกันไม่ให้ เกิดปัญหาสุขภาพใน อนาคตด้วยเช่นกัน

 

การเลือก ซื้อเก้าอี้นั่งทำงาน ซักหนึ่งตัวมาไว้เพื่อ การใช้งานในชีวิตประจำวันนั้น ถือเป็นสิ่งที่มีรายละเอียด แยกย่อยต่าง ๆ อยู่เป็นจำนวนมาก เนื่องจากเป็นสิ่งที่มีผลโดย ตรงต่อสุขภาพร่างกาย ของผู้ใช้งานโดยตรง ด้วยการทำงานที่เปลี่ยนแปลง ไปอย่างชัดเจน ในช่วงเวลาปัจจจุบัน ซึ่งทำให้เราจะต้อง นั่งทำงาน กันหน้าโต๊ะทำงาน เป็นระยะเวลา ที่ยาวนาน มากยิ่งขึ้น

กลับสู่หน้าหลัก –  aseancoffee

Tags: