เก้าอี้ทำงาน เพื่อสุขภาพ – คือ เก้าอี้ทำงาน เพื่อสุขภาพ ที่สามารถปรับได้ทุกสัดส่วน เพื่อความต้องการ และรองรับสรีระ ของบุคคลนั้น ๆ ได้อย่างลงตัว เป็น เก้าอี้ทำงาน ที่นั่งสบายและ ไม่ทำให้ปวดหลัง ในเวลานั่งนาน ๆ ระบายอากาศอย่างดีเยี่ยม ไม่ทำให้เกิดเหงื่อ หรือละคายเคือง ในเวลาการนั่ง เช่น การนั่งทำงานหน้า คอมพิวเตอร์นาน ๆ นั่งออกแบบ นั่งคิดวิเคราะห์ นั่งเผื่อผ่อนคลาย อริยาบทต่าง จำพวกบุคคล ที่ประกอบอาชีพ โปรแกรมเมอร์ ออกแบบกราฟิกดีไซน์ ครีเอทีฟ นักออกแบบ คอมพิวเตอร์ เพื่อธุรกิจต่าง งานในสำนักงานต่าง ๆ
นั่งทำงานเกิน 8 ชั่วโมงต่อวัน?
“คนที่ชอบนั่งทำงาน อยู่กับที่ติดต่อ กันหลายชั่วโมง ควรเปลี่ยนท่าทางบ่อย ๆ โดยทุก 1 ชม. ควรใช้เวลาเดินเล่น หรือทำกิจกรรมอื่น ๆ บ้าง เช่น เดินขึ้นลงบันได 1-2 ชั้น หรือลดการพูดคุย สื่อสารทางอีเมล์ แต่ใช้การสื่อสารโดยตัว ท่านเองในระหว่างเพื่อนร่วมงาน” ไม่ว่าคุณจะเป็นเด็กเรียน ที่นั่งหน้าคอม ดูซีรี่ส์ เล่นเกม หรือนั่งแชทกับเพื่อน ทั้งวันทั้งคืน ช่วงปิดเทอม หรือจะเป็นพนักงานออฟฟิศ ที่ต้องรีบเร่งทำงาน ส่งก่อนเวลาที่กำหนด หรือแม้กระทั่งอาชีพ ที่ต้องนั่งเฝ้าจอคอม จอทีวี จอมอนิเตอร์ อยู่ตลอดเวลา อย่าง ยาม ผู้ดูแลผังรายการโทรทัศน์ ไอที นักเล่นหุ้น โอเปอเรเตอร์ พนักงานต้อนรับ และอื่น ๆ หากคุณไม่ยอมลุกจากเก้าอี้บ้าง ระวังเสี่ยงเสียชีวิต จากโรคร้ายก่อนวัย อันควรมากกว่าเดิมถึง 33%
นั่งนาน ไม่ยอมลุกขึ้นขยับร่างกาย เสี่ยงเป็นโรคอะไรบ้าง
– โรคอ้วน
– เบาหวาน
– คอเลสเตอรอลสูง
– กล้ามเนื้ออ่อนแรง
– ข้อต่อกระดูกมีปัญหา
– ปวดเมื่อยเรื้อรัง (หากนั่งผิดท่า)
– โรคหัวใจ
– โรคไต
– โรคมะเร็ง
– โรคเครียด ซึมเศร้า
– ฯลฯ
คำแนะนำ
– ควรลุกขึ้นจากเก้าอี้ทุก ๆ 1 ชั่วโมง เดินไปเดินมา 1-2 นาที ช่วยให้ระบบ ไหลเวียนโลหิต และระบบการ ย่อยอาหาร ของร่างกาย ทำงานได้ดีขึ้น หากกลัวลืมขยับ จะตั้งเวลาเตือนทุก ๆ 1-2 ชั่วโมงก็ได้
– ลุกขึ้นเดินเข้าห้องน้ำ หยิบน้ำดื่มมาทานบ้าง ทุก ๆ 1-2 ชั่วโมง
– ลุกขึ้นยืนโทรศัพท์ เดินคุย หรือทำกิจกรรมอื่นๆ ขณะยืนหรือเดินบ้าง
– ระหว่างโดยสารรถกลับบ้าน ลองเลือกที่จะ ยืนแทนการนั่ง หรือเดินในระยะใกล้ ๆ แทนใช้บริการรถรับจ้าง
– หากต้องนั่งนานๆ อย่างเลี่ยงไมได้ เช่น งานเร่งมาก หรืออยู่ในห้องประชุม ลองขยับแข้งขยับขา เปลี่ยนท่านั่ง หมุนข้อมือข้อเท้า และลุกขึ้นเดินหรือยืนเมื่อมีโอกาส
– เปลี่ยนจากการนั่งดูทีวี เป็นออกกำลังกายไปด้วย ดูทีวีไปด้วย
– อย่านั่งในห้องน้ำนานเกินไป
– ลดการสูบบุหรี่ เพราะการสูบบุหรี่ เป็นการเพิ่มความเสี่ยง ต่อโรคหัวใจ ความดัน และมะเร็ง
– หาเวลาออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
“ปวดหลัง” แก้ได้แค่เปลี่ยนพฤติกรรม
1.นั่งไม่ถูกวิธี
เราควรนั่งให้ชิดขอบ ในของเก้าอี้ โดยหลังไม่โก่ง และให้หลังชิดพนักพิง ระดับความสูงของ เก้าอี้นั่งให้เท้าแตะพื้น รองรับก้น และโคนขาได้ทั้งหมด ในกรณีที่ต้องนั่งทำงาน เป็นเวลานาน ไม่ควรนั่งเก้าอี้ ที่ไม่มีพนักพิงหลัง เพราะจะทำให้ กล้ามเนื้อหลัง ทำงานหดเกร็ง อยู่ตลอดเวลา เป็นสาเหตุสำคัญ อย่างหนึ่งของอาการปวดหลัง
ขณะเดียวกัน ไม่ควรนั่งกับพื้นทั้ง ในท่านั่งขัดสมาธิ คุกเข่า และพับเพียบ เพราะจะทำให้น้ำหนัก ส่วนใหญ่ไปลง ที่กระดูกสันหลัง บริเวณบั้นเอว ทำให้กระดูกสันหลังรับน้ำหนักมาก และทำให้ปวดหลัง เพิ่มมากขึ้น
2.ปรับระดับหน้าจอ ให้อยู่ตรงหน้าพอดี ให้สายตามอง ตรงไปด้านหน้า ไม่เงย ไม่ก้ม จะช่วยลดอาการตึง หรือเมื่อยล้า บริเวณกล้ามเนื้อ ช่วงคอและไหล่ได้ และ 3.ช่วงแขนที่ใช้ งานพิมพ์คีย์บอร์ดให้ เก็บศอกใกล้ตัว เพื่อช่วยผ่อนคลาย หัวไหล่และแขน ลดอาการตึง และเมื่อยล้า จากงานได้ ที่สำคัญควรลุกเปลี่ยนอิริยาบถ ยืดเส้นยืดสายทุก ๆ 30-45 นาที
2.ยกของผิดท่า
การยกของจากพื้น ไม่ควรใช้วิธีก้มหลัง แต่ควรใช้วิธีย่อเข่า และหลังตรงแทน เพราะกล้ามเนื้อหลัง จะเป็นส่วนออกแรง ทำให้เกิดอาการอักเสบได้ ดังนั้นควรย่อเข่าลงนั่ง ยกของให้ชิดตัว แล้วลุกด้วยกำลังขา ขณะเดียวกัน ควรหลีกเลี่ยง การก้มตัวทำงาน เพราะจะทำให้ กระดูกสันหลัง บริเวณส่วนเอวรับน้ำหนักเพิ่มมากขึ้น
3.น้ำหนักตัวเกิน
น้ำหนักตัวที่ มากเกินไป ทำให้มีอาการปวดหลังได้ เนื่องจากจะ ทำให้ข้อต่อ ของกระดูกสันหลัง และหมอนรอง กระดูกสันหลัง รับน้ำหนักเพิ่มมากขึ้น มีผลทำให้เกิดการเสื่อม และการอักเสบ เพิ่มมากขึ้น ดังนั้นเราควรรักษา น้ำหนักตัวให้เหมาะสม โดยการออกกำลังกาย อย่างสม่ำเสมอ เนื่องจากการ ออกกำลังกายเป็นประจำ จะทำให้ กล้ามเนื้อเส้นเอ็น และกระดูกสันหลัง แข็งแรงมากขึ้น
4. นอนคว่ำสาเหตุอาการปวดหลัง
หลาย ๆ คนชอบนอนคว่ำ เวลานั่งเล่นคอมพิวเตอร์ หรือเวลาอ่านหนังสือ หารู้ไม่ว่าการนอนคว่ำนั้น เป็นทำร้าย กระดูกสันหลัง โดยที่เราไม่รู้ตัว เนื่องจากเวลาเรานอนคว่ำ จะทำให้กระดูกสันหลังแอ่น และอาจเป็นสาเหตุ ของอาการปวดหลังได้ สำหรับใครที่ชอบ ไปนวดแผนโบราณ ก็ไม่ควรนอนคว่ำ แล้วให้นวดหลัง เพราะจะ ทำให้หลังแอ่น และมีอาการปวด เพิ่มมากยิ่งขึ้น
5.งดสูบบุหรี่
สารนิโคติน ในบุหรี่มีผลทำให้ หมอนรองกระดูก ขาดออกซิเจน เกิดกระบวนการเสื่อม เร็วมากกว่าปกติ และยุบตัวเพิ่มมากขึ้น ผู้ที่สูบบุหรี่ จะมีความเสี่ยงในการเกิดอาการปวดหลัง มากกว่าคนทั่วไป จึงควรหลีกเลี่ยง การสูบบุหรี่ เพื่อลดการเสื่อมของ หมอนรองกระดูก สันหลังเพิ่มขึ้น
กลับสู่หน้าหลัก – aseancoffee