วันศุกร์, ตุลาคม 4, 2024

nk performance ล้อแม็ก – สิ่งที่เราให้ความสำคัญมากที่สุดคือความแข็งแรง ซึ่งเรามีการเทสผ่านมาตราฐานสากลจริงด้วยเครื่องจักรจากสถานบันที่ VIA ที่ึคอยกำกับและตรวจสอบมาตรฐาน ไม่ว่าจะเป็น JWL สำหรับล้อรถยนต์ หรือ JWL-T สำหรับรถบรรทุก ในทุกโมเดลไม่ว่าจะเป็น และเครื่องที่ใช้เทสมีการต่อ License ทุกปีมีการตรวจสอบว่าได้มาตราฐานจริง

 การผลิต nk performance ล้อแม็ก

       ในอดีตล้อแม็กได้รับความนิยมในกลุ่มรถแข่ง และมีจำหน่ายไม่แพร่หลายนัก เพราะมีต้นทุนการผลิตสูงจากความซับซ้อนของกระบวนการผ ลิต และโลหะแมกนีเซียมที่มีน้ำหนักเบามากๆ แม้มีราคาแพง แต่ก็ไม่ใช่ปัญหา เพราะรถแข่งมีค่าใช้จ่ายเหลือเฟือ ซึ่งต้องการลดแรงต้านการหมุนให้น้อยที่สุด และความร้อนจากจานเบรกก็สูงมาก

เมื่อความสวยงามกลายเป็นจุดเด่นของการเลือกใช้ล้อแม็ กสำหรับรถยนต์ทั่วไป อะลูมินั่มอัลลอยที่มีราคาถูกกว่า ผลิตง่าย และมีน้ำหนักพอเหมาะ จึงถูกนำมาทดแทนในการผลิตล้อแม็ก (แต่แยกออกไปเป็นหลายระดับราคาและคุณภาพ) ผู้ผลิตล้อแม็กคุณภาพสูง ชื่อดัง ราคาแพง มักเลือกใช้วัสดุคุณภาพสูง เพื่อให้ทนทานต่อแรงกระแทก โดยในขั้นตอนการหลอมมีการผสมระหว่างวัสดุหลัก คือ อะลูมินั่มอินกอต, แมกนีเซียม, สตอนเซียม และซิลิกอน ตามสูตรอันแตกต่างของผู้ผลิตแต่ละราย

ล้อแม็กที่ผลิตจากอะลูมินั่มอัลลอย ได้รับความนิยมต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน มีชื่อเรียกสั้นๆ ว่า -ล้อแม็ก- ซึ่งย่อมาจาก -ล้อแมกนีเซียม- แม้ไม่ได้มีการผลิตด้วยแมกนีเซียมเป็นหลักแล้วก็ตาม

 

แบ่งตามวิธีผลิต nk performance


มี 3 วิธีหลัก แตกต่างกันไปตามคุณภาพ ความยุ่งยากในการผลิต และต้นทุน

ตักเท
       คุณภาพไม่สูง แต่ผลิตสะดวก ใช้เครื่องมือไม่ซับซ้อนและต้นทุนต่ำ หลอมเนื้อวัสดุด้วยความร้อนจนเหลว เทจากด้านบนลงสู่แม่พิมพ์ด้านล่าง เมื่อแข็งตัวแล้วถอดออกมากลึงให้เรียบ เจาะรู และเสริมความสวยต่อไป ล้อแม็กที่ผลิตด้วยวิธีนี้มีราคาถูก เนื้อไม่แน่น อาจมีฟองอากาศที่ไม่สามารถไล่ออกได้แทรกอยู่ภายใน จึงไม่ค่อยแข็งแรงและคด-แตกง่าย แพร่หลายที่สุดเพราะราคาถูก ถ้าเป็นอะลูมินั่มอัลลอยคุณภาพสูงและมีความละเอียดใน การผลิต ก็พอใช้ได้

แรงดันตํ่า
       คุณภาพดี ต้นทุนสูง และมีราคาเหมาะสมกับความแข็งแรง แม่พิมพ์อยู่ด้านบน หลอมอะลูมินั่มอัลลอยด้วยความร้อนจนเหลวที่เตาด้านล่ าง ส่งผ่านท่อซึ่งต่อขึ้นสู่แม่พิมพ์ด้านบนด้วยแรงดันต่ ำพอเหมาะ ไม่น้อยหรือช้าเกินไปจนเต็ม เพื่อไล่ฟองอากาศจากด้านล่างขึ้นสู่ด้านบน เมื่อแข็งตัวเรียบร้อยแล้วถอดออกมากลึงเรียบ เจาะรู และเสริมความสวยต่อไปได้รับความนิยมทั้งจากผู้ผลิตแล ะผู้บริโภคมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะล้อแม็กมีเนื้อแน่น ฟองอากาศน้อย แข็งแรงทนทานต่อการคด-แตก ถ้ามีโอกาสควรเลือกใช้

แรงดันสูง
       คุณภาพดี ต้นทุนสูง และราคาแพง แม่พิมพ์ปิดผนึก หลอมอะลูมินั่มอัลลอยด้วยความร้อนจนเหลว ส่งผ่านท่อซึ่งต่อเข้าสู่แม่พิมพ์ด้วยแรงดันสูงจนเต็ ม พร้อมไล่ฟองอากาศออกไป เมื่อแข็งตัวเรียบร้อยแล้วถอดออกมากลึงเรียบ เจาะรู และเสริมความสวยต่อไป ได้รับความนิยมจากทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภคไม่มากนัก แม้ล้อแม็กมีเนื้อแน่น ฟองอากาศน้อย แข็งแรงทนทานต่อการคด-แตก แต่ต้นทุนเครื่องมือสูงเกินความเหมาะสมกับคุณภาพที่ไ ด้ เลือกล้อแม็กที่ผลิตด้วยวิธีแรงดันต่ำที่ดีก็เพียงพอแล้ว

 

แบ่งตามจำนวนชิ้น/วง


1 ชิ้น และ 2-3 ชิ้น (ไม่นับชิ้นที่ปิดดุมหรือนอตตรงกลาง) ล้อแม็กแบบ 1 ชิ้น แพร่หลายและได้รับความนิยมที่สุด เป็นชิ้นเดียวทั้งวง การผลิตไม่ซับซ้อนและต้นทุนไม่สูง

ล้อแม็กแบบแยกชิ้น
มีจุดประสงค์หลักคือต้องการลดน้ำหนัก หรือเพิ่มความสวย แต่มีราคาและต้นทุนสูง สามารถลดน้ำหนักได้โดยแยกหล่อชิ้นหน้าแปลนตรงกลาง และส่วนขอบใช้วิธีรีดวัสดุ เช่น อะลูมิเนียม ให้บางและเบา แล้วนำมาประกบกันด้วยการยึดนอตหรือเชื่อม เพราะการหล่อทั้งวงย่อมทำให้บางเบาหรือสวยไม่ได้เท่า การรีดขึ้นรูปส่วนขอบล้อแม็กแบบ 2 ชิ้น ผลิตขอบล้อ 1 ชิ้น และหน้าแปลนช่วงกลาง 1 ชิ้น

ล้อแม็กแบบ 3 ชิ้น ผลิตขอบล้อ 2 ชิ้น แล้วนำมาเชื่อมกันก่อน หรือประกบยึดนอตพร้อมหน้าแปลนช่วงกลางอีก 1 ชิ้น
นอกจากล้อแม็กแบบแยกชิ้นมีความโดดเด่นในเรื่องการแยก ชิ้นผลิตเพื่อลดน้ำหนักแล้ว ยังสามารถแยกผลิตให้ล้อแม็กลวดลายเดียวมีหลายขนาดควา มกว้าง หรือความกว้างเดียวมีหลายลวดลาย ด้วยการจับคู่สลับกันระหว่างขอบล้อกับหน้าแปลนช่วงกล างอีกด้วยจำนวนชิ้นต่อล้อแม็ก 1 วง ยังเกี่ยวข้องกับความสวยงามและการแยกชิ้นซ่อมแซม ล้อแม็กหลายชิ้นมักดูสวยกว่า จนล้อแม็กชิ้นเดียวบางลวดลาย ออกแบบหลอกให้ดูเหมือนเป็นล้อแม็กหลายชิ้นด้วยการฝัง นอตตัวเล็กรอบๆ

ออฟเซต

        ออฟเซต คือ ตำแหน่งของหน้าแปลนด้านหลังของล้อแม็กที่ต้องยึดติดก ับดุมล้อ เมื่อเปรียบเทียบกับกึ่งกลางล้อแม็กด้านขวาง ระบุเป็นบวกหรือลบด้วยหน่วยมิลลิเมตรบนตัวล้อแม็กด้า นหน้าหรือด้านหลัง เช่น 0, +30, -25 ฯลฯ ล้อแม็กที่มีค่าออฟเซตเท่ากัน อาจยื่นออกมาจากดุมล้อไม่เท่ากัน ถ้าความกว้างของล้อแม็กไม่เท่ากัน เช่น ล้อแม็ก 2 วง มีค่าออฟเซต 0 มิลลิเมตรเท่ากัน คือ หน้าสัมผัสของล้อแม็กกับดุมอยู่ตรงกลางพอดี แต่วงหนึ่งมีความกว้าง 6 นิ้ว กับอีกวงมีความกว้าง 7 นิ้ว วงแรกจะยื่นออกมาจากดุม 3 นิ้ว และวงหลังจะยื่นออกมา 3.5 นิ้ว ทั้งที่มีค่าออฟเซต 0 มิลลิเมตรเท่ากัน

ค่าออฟเซตน้อยหรือลบมากเกินไป
ล้อแม็กจะยื่นออกมาจากดุมล้อมาก

ระยะออฟเซตมากหรือบวกมากเกินไป ล้อแม็กจะหุบเข้าไปในตัวถัง เช่นล้อแม็ก 2 วงมีขนาดเท่ากันทุกอย่าง ทั้งเส้นผ่าศูนย์กลางและหน้ากว้าง ยกเว้นค่าออฟเซต ล้อแม็กวงหนึ่ง -20 มิลลิเมตร และอีกวง +10 มิลลิเมตร วงแรกเมื่อใส่เข้ากับตัวรถยนต์จะยื่นออกมามากกว่าอีก วง 30 มิลลิเมตร (-20+10=30 มิลลิเมตร)

รถยนต์ขับเคลื่อนล้อหลังมักกำหนดให้ใช้ล้อแม็กที่มีค่าออฟเซตเป็นลบ หรือบวกไม่มากนัก ดูแล้วล้อแม็กจะเป็นหลุมลงไป และรถยนต์ขับเคลื่อนล้อหน้า (หรือขับเคลื่อนล้อหลังรุ่นใหม่) มักใช้ล้อแม็กค่าออฟเซตเป็นบวก ดูแล้วล้อแม็กจะหน้าเต็มๆ เพราะในการออกแบบและทดสอบพบว่า ล้อแม็กที่มีค่าออฟเซตมากหรือบวกมาก เมื่อยางแตกรถยนต์จะเสียการทรงตัวน้อย

   การเปลี่ยนล้อแม็กวงโตกับยางแก้มเตี้ย เช่น ล้อแม็กขอบ 16-17 นิ้ว กับยาง 45-50 ซีรีส์ ตามความนิยมเพิ่มความสวย คนส่วนใหญ่มักมีมุมมองเบื้องต้นว่ายางจะติดขอบบังโคล นด้านใน เพราะมีขนาดล้อแม็กเพิ่มขึ้น ทั้งที่อาจเกี่ยวข้องกับค่าออฟเซตที่น้อยเกินไป ซึ่งมีผลโดยตรงต่อการยื่นหรือหุบเข้าไปของล้อแม็กกับ ขอบบังโคลนของตัวถัง เช่น เปลี่ยนล้อแม็กวงโตแล้วยางกระแทกขอบบังโคลนเมื่อรถยน ต์ถูกโหลดลดความสูงหรือยุบตัวมากๆ ทำให้หลายคนรีบสรุปว่าล้อแม็กมีเส้นผ่าศูนย์กลางมากเ กินไป เช่น ขอบ 16-17 นิ้ว ทั้งที่จริงแล้วอาจมีปัญหามาจากค่าออฟเซต ในความเป็นจริง ยางจะติดขอบบังโคลนด้านในหรือเปล่า ? อยู่ที่ 2 กรณีหลัก คือ ขนาดของล้อแม็กและยาง และค่าออฟเซตของล้อแม็ก

ถ้าไม่เลือกล้อแม็กขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางใหญ่เกินไป เช่น โตโยต้า โคโรลล่า เลือกล้อแม็กขอบ 15-16 นิ้ว แล้วยางยังกระแทกขอบบังโคลนด้านในโดยส่วนใหญ่จะเกิดปัญหาจากค่าออฟเซตไม่เหมาะสม คือ ล้อแม็กและยางจะยื่นเลยออกมานอกแนวขอบบังโคลน เมื่อโหลดลดความสูงของตัวถังลงมาหรือรถยนต์ยุบตัวมาก ๆ ขอบบังโคลนด้านในจะกระแทกกับยางจนเกิดเสียงดังและยาง เสียหาย

ยกตัวอย่างให้เห็นชัดเจนว่า แม้จะใส่ล้อแม็กแค่ 13 นิ้ว แต่ถ้าออฟเซตลบมากๆ จนล้อแม็กยื่นออกมาเลยขอบบังโคลนด้านใน ยางก็ยังมีโอกาสถูกกระแทกได้การเลือกเปลี่ยนล้อแม็กข นาดใหม่ ควรอ้างอิงค่าออฟเซตกับล้อแม็กมาตรฐานเดิม โดยอ่านจากตัวล้อแม็กบริเวณด้านหน้าหรือด้านหลังตามห ลักการ ไม่ควรเลือกล้อแม็กที่มีค่าออฟเซตต่างจากมาตรฐานเดิม เกิน 5-10 มิลลิเมตร แต่ในทางปฏิบัติสามารถประยุกต์ได้ ล้อแม็กที่ใส่แล้วสวยคือใส่แล้วดูเต็มบังโคลน แต่เมื่อรถยนต์ยุบตัว ยางต้องไม่กระแทกกับขอบบังโคลน หรือเรียกกันกลายๆ ว่า ปริ่มขอบบังโคลน

การเลือกแบบประยุกต์หรือสูตรสำเร็จก็คือ ลองใส่ล้อแม็กพร้อมยาง แล้วนำรถยนต์ขับเดินหน้า-ถอยหลังสัก 4-5 ครั้ง เพื่อให้ช่วงล่างปรับเข้าสู่ระยะปกติ หาคนนั่งในรถยนต์บนเบาะหลัง 2-3 คน พร้อมขย่มตัวถังเหนือล้อหลัง แล้วดูว่าริมขอบบังโคลนด้านในยุบลงมากระแทกยางหรือเป ล่า ถ้าสามารถพับหรือเจียร์ขอบบังโคลนด้านในหลบได้ก็จัดก ารไปเลย โดยต้องระวังไม่ให้สีด้านนอกเสียหาย แต่ถ้าติดมาก คือพับหรือเจียร์ขอบบังโคลนด้านในแล้วยังไม่น่าจะพ้น ก็หมดสิทธิ์ใส่ล้อแม็กชุดนั้น แม้ตัวรถยนต์ไม่ได้โหลดลดความสูงลง แต่ก็ต้องทดลองขย่มเผื่อไว้สำหรับการบรรทุกหนักหรือก ารกระแทกที่อาจเกิดขึ้นได้

ค่าออฟเซตมากหรือบวกเกินไป
       ล้อและยางจะหุบเข้าไปในตัวถัง ดูไม่สวย อาจติดช่วงล่างบางชิ้น ฐานล้อระหว่างซ้าย-ขวาน้อยลง และสูญเสียประสิทธิภาพการทรงตัวลงไป

การดัดแปลงค่าออฟเซต

       ความอยากสวยห้ามกันยาก เมื่อล้อแม็กลวดลายนั้นประทับใจมาก แต่ค่าออฟเซตน้อย-มากเกินไป จนล้อหุบ-ล้น หรือระยะ PCD ไม่เท่ากัน หรือจำนวนรูนอตไม่เท่ากันระหว่างดุมล้อกับล้อแม็ก สามารถดัดแปลงในหลายกรณีได้ดี แต่บางกรณีแย่และควรหลีกเลี่ยง

ค่าออฟเซตน้อยหรือติดลบเกินไป
       ถ้าล้อแม็กจะล้นออกมาเกินปกติ แสดงว่าค่าออฟเซตน้อยหรือติดลบเกินไป เมื่อรถยนต์ยุบตัวลงหรือโหลด ยางอาจกระแทกกับขอบบังโคลนด้านใน ถ้าติดหรือกระแทกไม่มาก ก็สามารถพับหรือเจียร์ขอบบังโคลนหลบได้ แต่ต้องระวังไม่ให้สีด้านนอกเสียหายถ้ายังไม่พ้นลองพ ลิกดูด้านหลังล้อแม็กบริเวณหน้าสัมผัส ว่ามีเนื้อหนาพอจะเจียร์ให้บางลงสัก 2-3 มิลลิเมตรได้ไหม ถ้าเจียร์ได้ก็ยังพอเพิ่มค่าออฟเซตให้ล้อหุบเข้าไปได ้อีกเล็กน้อย แต่ต้องแน่ใจว่าล้อแม็กจะไม่บางเกินไปจนแตกหักง่าย

ค่าออฟเซตมากไป
       หากล้อแม็กหุบเข้าไปเกินปกติ แสดงว่าค่าออฟเซตมากไป กรณีนี้ไม่เกี่ยวกับปัญหายางกระแทกขอบบังโคลน แต่อาจดูไม่สวย และล้อหรือยางจะติดขัดกับช่วงล่างบางชิ้นหรือซุ้มล้อ ด้านใน ถ้าไม่มาก สามารถใช้แผ่นอะลูมิเนียมรองแบนกลมบางๆ สเปเซอร์-SPACER ซึ่งมีจำนวนรูให้นอตร้อยผ่านเท่ากับระยะ PCD แทรกระหว่างล้อแม็กกับดุมล้อ เพื่อให้ล้อแม็กล้นออกมามากขึ้น

แก้ไขล้อแม็ก
        มีหลายวิธี เช่น 4 รูนอต PCD ใกล้เคียงกัน แล้วมีค่าออฟเซตเหมาะสมอยู่แล้ว เช่น 4 รูนอต PCD 100 แก้ไขเป็น 114.3 มิลลิเมตร หรือ 120 แก้ไขเป็น 114.3 มิลลิเมตร มักดัดแปลงด้วยการคว้านรูนอตเดิมบนล้อแม็กให้ใหญ่ขึ้ น แล้วอัดบู๊ชเหล็กใหม่เข้าไปให้ได้ระยะหากเนื้อของล้อ แม็กด้านข้างรูนอตยังเต็มหรือเหลือพอทั้งด้านหน้า-ด้านหลัง สามารถเจาะรูเพิ่มจากเดิมได้ แต่ต้องได้ศูนย์และตรงกับระยะ PCD พอดี

อย่ามองข้ามขนาดรูกลางของล้อแม็ก
       รถยนต์ทุกคันต้องมีแกนกลางของดุมล้อนูนออกมา เพื่อสวมทะลุเข้าสู่รูกลางบนตัวล้อแม็ก นอกจากต้องมีระยะ PCD, ค่าออฟเซต และขนาดโดยรวมของล้อแม็กเหมาะสมแล้ว ขนาดรูกลางของล้อแม็กต้องกว้างเท่ากันพอดีกับแกนดุมล ้อ เพื่อป้องกันการสะบัดหรือแกว่งของล้อแม็ก แม้นอตล้อจะยึดแน่นอยู่แล้วก็ตาม หากขนาดรูกลางของล้อแม็กเล็กเกินไป ย่อมสวมเข้ากับดุมล้อไม่ได้ ต้องกลึงคว้านด้วยความละเอียดให้มีขนาดรูกลางเท่ากับ แกนดุมล้อพอดี อย่าให้หลวมถ้าขนาดรูกลางของล้อแม็กใหญ่กว่าแกนดุมล้ อ ควรอัดบู๊ชหรือคว้านแล้วอัดบู๊ชให้พอดีกัน เพื่อป้องกันการแกว่ง

 

กลับสู่หน้าหลัก – aseancoffee

Tags: