วันศุกร์, ธันวาคม 13, 2024

โรคกินไม่หยุด Binge Eating Disorder

โรคกินไม่หยุด วิธีแก้ ทำไมกินเท่าไหร่ก็ไม่รู้สึกอิ่ม..? ทำไมหิวทุก 2-3 ชั่วโมง? ทำไมรู้สึกอิ่ม แต่ยังอยากกินอยู่..?

คำถามทำไมเหล่านี้ อาจบ่งบอกถึงโรคอะไรบางอย่าง ที่เราคิดไม่ถึงอย่าง ‘โรคกินไม่หยุด หรือ Binge Eating Disorder’ ก็ได้

โดยโรคนี้จะมีอาการคือ ผู้ป่วยจะกินอาหารเข้าไปในปริมาณมาก แม้ไม่หิวก็ตาม กินไม่หยุด ควบคุมตัวเองตอนกินอาหารไม่ได้ โรคกินไม่หยุดสามารถพบได้ทุกเพศทุกวัย แต่พบได้มากในช่วงวัยรุ่นตอนปลายหรือช่วงอายุ 20 ตอนต้น และพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชายนั่นเอง

มาเช็กกันดูว่าเราเข้าข่ายมั้ย..?

ความถี่ของอาการจะเป็นตัวบ่งบอกถึงความรุนแรงของโรค

อาการไม่รุนแรง : 1-3 ครั้งต่อสัปดาห์

อาการรุนแรง : มากกว่า 3 ครั้ง บางรายอาจมากถึง 14 ครั้งขึ้นไปต่อสัปดาห์

*** หากมีพฤติกรรมแบบนี้ 1 ครั้งต่อสัปดาห์ เป็นเวลาต่อเนื่องกัน 3 เดือน ก็เข้าข่ายโรคกินไม่หยุดด้วยเช่นกัน

นอกจากนี้ ความผิดปกติทางอารมณ์ก็เป็นหนึ่งในอาการที่มีร่วมด้วย โดยผู้ป่วยอาจมีอาการ

  • รู้สึกผิดหลังกินอาการเข้าไป
  • อับอาย
  • เศร้า
  • รังเกียจตัวเอง
  • อยากอยู่คนเดียว หรือ กินอาหารคนเดียว
  • อาการจาก ภาวะแทรกซ้อนจาก Binge Eating Disorder

ภาวะแทรกซ้อนจากโรคกินไม่หยุด

  • ภาวะหัวใจเต้น ขณะนอนหลับ
  • โรคกรดไหลย้อน
  • ภาวะไขมันในเลืดสูง
  • โรคอ้วน
  • เบาหวาน
  • โรคหัวใจ
  • โรคหลอดเลือดในสมอง
  • โรคมะเร็ง
  • ภาวะซึมเศร้า
  • โรควิตกกังวล
  • โรคไบโพลาร์

แล้วโรคกินไม่หยุด มันเกิดจากอะไรกันแน่ และใครบ้างที่เข้าข่าย..? โรคกินไม่หยุด วิธีแก้

พฤติกรรมการรับประทาน

ผู้ที่เป็นโรคนี้มักกินในปริมาณมากกว่าปกติ และไม่สามารถควบคุมตัวเองให้หยุดได้กินได้ แม้จะอิ่มแล้วหรือไม่รู้สึกหิวก็ตาม แต่จะหยุดก็ต่อเมื่อรู้สึกอิ่มจนไม่สบายตัวหรือไม่สามารถรับกินต่อได้ นอกจากนั้นยังมีพฤติกรรมที่สามารถกินอาหารเยอะมากๆอย่างรวดเร็ว

ข้อสังเกตอีกอย่าง คือ ผู้ป่วยไม่มีพฤติกรรมที่จะลดความอ้วน ออกกำลังกายอย่างหนัก ใช้ยาระบาย หรือล้วงคออ้วก ซึ่งพฤติกรรมเหล่านี้มักเป็นอาการของโรคคลั่งผอม (Anorexia) และโรคล้วงคอ (Bulimia) รวมไปถึงผู้ป่วยอาจจะมีพฤติกรรมที่กักตุนอาหารไว้ในที่ต่าง ๆ ใกล้ตัว

เชื่อกันว่าเกิดจากภาวะไม่สมดุลของสารเคมีในสมอง  ซึ่งเป็นฮอร์โมนแห่งความหิวที่หลั่งออกมามากผิดปกติ

ในปัจจุบันยังไม่พบสาเหตุที่แน่ชัดของโรคนี้ แต่คาดว่ามีหลายปัจจัยหลายอย่างที่เพิ่มความเสี่ยง :

  • โรคอ้วน พบว่าผู้ที่มีอาการโรคกินไม่หยุด มักมีโรคอ้วนเป็นโรคประจำตัว
  • ขาดความมั่นใจในรูปร่าง และมีความพึงพอใจในรูปร่างของตนเองต่ำ
  • เสพติดการลดน้ำหนัก เครียดกับการลดน้ำหนัก หรือเคยล้มเหลวในการลดน้ำหนัก
  • เคยผ่านเหตุการณ์สะเทือนใจ
  • มีพฤติกรรมการใช้สารเสพติดหรือดื่มแอลกฮอล์เป็นประจำ
  • มีประวัติคนในครอบครัวมีความเกี่ยวข้องกับโรคการกินผิดปกติ
  • มีภาวะทางจิต เช่น โรคซึมเศร้า โรคเครียด โรคไบโพลาร์ และภาวะป่วยทางจิตหลังเหตุการณ์รุนแรง (Post-traumatic Stress Disorder: PTSD)

โรคนี้หายได้มั้ย..?

ผู้ป่วยจะถูกส่งตัวไปยังแพทย์เฉพาะทาง เพื่อได้รับการรักษาที่ตรงกับอาการสาเหตุของโรคมากที่สุด

การใช้ยา

โรคกินไม่หยุด จัดว่าเป็นโรคทางจิตชนิดหนึ่ง แพทย์อาจสั่งยาต้านเศร้า หรือยากันชักที่มักใช้รักษาโรคทางจิตชนิดอื่น ๆเพื่อรักษาและปรับสมดุลเคมีในสมอง ถึงแม้การใช้ยาจะเห็นผลเร็ว แต่แน่นอนว่าต้องมาพร้อมความเสี่ยงจากผลข้างเคียงของยา ผู้ป่วยจึงต้องปรึกษาแพทย์ก่อนเสมอ

จิตบำบัด

การเข้ารับการรักษาแบบจิตบำบัดจะช่วยให้ผู้ป่วยควบคุมพฤติกรรมและอารมณ์ด้านลบที่ส่งผลต่ออาการได้

โดยแบ่งออกเป็น 3 อย่าง

Cognitive Behavioural Therapy (CBT)

เป็นการบำบัดทำให้ผู้ป่วยเข้าใจสาเหตุของอารมณ์และพฤติกรรมด้านลบที่ทำให้เกิดอาการ รวมทั้งเรียนรู้วิธีควบคุมอีกด้วย

Interpersonal Psychotherapy (IPT)

เป็นการบำบัดที่ช่วยรักษาอาการ ที่มีสาเหตุมาจากปัญหาความสัมพันธ์ของผู้ป่วยกับคนรอบข้าง ที่ส่งผลกระทบด้านลบต่อผู้ป่วย เช่น การสูญเสีย หรือ การหย่าร้างเป็นต้น

Dialectical Behaviour Therapy (DBT)

เป็นการบำบัดเพื่อมุ่งเน้นให้ผู้ป่วยตระหนักรู้ถึง สาเหตุและอาการ มีความอดทนต่อความรู้สึกด้านลบ การจัดการอารมณ์และการพัฒนามนุษย์สัมพันธ์

การป้องกันโรคกินไม่หยุด

ปัจจุบัน ยังไม่มีวิธีป้องกันที่แน่ชัด ทำได้เพียงลดปัจจัยดสี่ยงหรือแนวโน้มที่จะเกิดเท่านั้น

  • พักผ่อนให้เพียงพอ
  • กินอาหารให้มีประโยชน์
  • ผ่อนคลายความเครียด
  • ปรึกษาแพทย์ทันที เมื่อเกิดสัญญาณของโรค

การกินอาการเยอะในบางโอกาส แน่นอนว่าเป็นเรื่องธรรมดา ไม่ว่าจะเป็นการสังสรรค์ หรือกินบุฟเฟต์ให้รางวัลตัวเอง แต่หากเริ่มมีสัญญาณข้างต้นเมื่อไหร่ ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจเช็กทันที

หากมีอาการไม่พึงประสงค์ ลองโหลดเรา Agnos แอปพลิเคชั่นเช็กอาการป่วยได้ทุกที่ ทุกเวลา เสมือนมีเพื่อนเป็นหมอ!

 

อ้างอิง :

https://www.pobpad.com/binge-eating-disorder

https://www.petcharavejhospital.com/th/Article/article_detail/Binge-Eating-Disorder

https://www.sikarin.com/health/%E0%B8%97%E0%B8%B3%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%81-%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%88#:~:text=%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%AB%E0%B8%A2%E0%B8%B8%E0%B8%94%20%E2%80%93%20Binge,%E0%B9%83%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%9A%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A2

Tags: