วันศุกร์, ตุลาคม 4, 2024

กัญชาเสรี ความเสรี ที่มาพร้อมกับความเสี่ยง

 

  • สารที่อยู่ในกัญชา
  • ปริมาณสารและผลข้างเคียง
  • ความเสี่ยงต่อร่างกายและจิตใจ
  • กัญชารักษาซึมเศร้า
  • กัญชารักษามะเร็ง

 


 

กัญชา โรคซึมเศร้า ปฏิเสธไม่ได้ว่าทันทีที่มีการเปิดเสรีให้กับ“กัญชา และ กัญชง” ผู้คนที่ชื่นชอบในกัญชา รวมถึงร้านค้าและร้านอาหารมากมาย นำกัญชามาใช้สนองความต้องการของตลาดและตัวเองกันอย่างคึกคัก
หลายคนเองก็คงอาจจะพอรู้ประโยชน์ของกัญชาในทางการแพทย์มาอยู่บ้าง ไม่ว่าจะเป็นอาการเล็กๆอย่าง การรักษาอาการคลื่นไส้ ลดอาการปวด ช่วยให้นอนหลับดีขึ้น จนไปถึงโรคสุดอันตรายอย่าง ‘กัญชารักษามะเร็ง’ หรือ ‘กัญชารักษาโรคซึมเศร้า’ แต่เรื่องเหล่านี้จริงแค่ไหนกัน? แล้วความเสี่ยงที่เราต้องเจอหล่ะ? มันได้คุ้มเสียรึเปล่า?


 

ถ้าบอกว่า ‘ใบกัญชาไม่ได้ทำให้เราเมา’ มันเป็นไปได้รึเปล่า?

ก่อนอื่นเลยเรามาทำความรู้จักกับสิ่งที่ทำให้เรา‘เมา’ หรือ ‘ลอย’ กันก่อน

กัญชามีสารอะไร
กัญชามีสารอะไร

 

สารออกฤทธิ์ที่สำคัญในกัญชา คือ

  • THC (Delta 9 Tetrahydrocannabinol) เป็นสารที่มีฤทธิ์ต่อจิตและประสาร หรือทำความเข้าใจง่ายๆเลย คือ สารตัวนี้แหละที่เราให้เราลอยยยนั่นเอง~
  • CBD (Cannabidiol) เป็นสารที่ไม่มีฤทธิ์ต่อจิตใจและประสาท นิยมใช้ประกอบอาหารในบางประเทศ

และโดยเฉลี่ยแล้วใบกัญชาแห้งที่เรานำมาใช้กันทั่วไป มีสาร THC ประมาณ 1-2 มิลลิกรัมต่อใบ แต่ใบสดจะมีสาร THCA ที่จะไม่มีฤทธิ์ต่อจิตใจและประสาท หากไม่ได้โดนความร้อน หรือแสงแดด (THCAจะเปลี่ยนเป็นTHCเมื่อโดนความร้อน)

แล้วบริโภคเท่าไหนหล่ะ ถึงจะเมา หรือเป็นอันตรายถึงขั้นเห็นภาพหลอน?

THCA : Tetrahydrocannabinolic Acid

ในส่วนของช่อดอก ถือว่าเป็นส่วนที่มีสาร THC สูงถึง 2-10% เลยทีเดียว ซึ่งพูดได้ว่าเป็นส่วนที่มีสาร THC สูงที่สุดนั้นเอง

 


 

การที่ร่างกายได้รับสาร THC จากกัญชาสามารถเกิดผลต่อ ‘ระบบจิตประสาท’ ได้ดังนี้

ผลของสาร THC ในกัญชา
ผลของสาร THC ในกัญชา

 

อาการกดประสาท

  • น้อยกว่า 1mg  จะทำให้รู้สึกสบาย
  • 2-5 mg ง่วง อยากนอน รู้สึกเอื่อยๆ
  • 5mg ขึ้นไป หลับลึกไม่ค่อยรู้ตัว

อาการกระตุ้นประสาท

  • น้อยกว่า1mg  กระชุ่มกระชวย สมาธิดี ไม่หิวไม่เหนื่อย
  • 2-5 mg กระสับกระส่าย กลัว ตื่นตระหนก
  • 5mg ขึ้นไป หัวใจเต้นเร็วมาก อุณหภูมิร่างกายสูงขึ้นมาก

อาการหลอนประสาท

  • น้อยกว่า1mg  เคลิ้ม ฝันกลางวัน
  • 2-5 mg วิตกกังวล กลัว ไม่ออกไปไหน
  • 5mg ขึ้นไป ยิ้ม พูดคนเดียว หูแว่ว ระแวง

***อาการทางจิตประสาทอาจขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายและการตอบสนองของแต่ละบุคคล***

หลังจากปลดล็อกกัญชาเสรี ผู้คนมากมายอาจให้ความสนใจเกี่ยวกับประโยชน์ของใช้กัญชาอย่างแน่นอน แต่เคยขึ้นชื่อว่าเป็น ยาเสพติด ก็ต้องมีความเสี่ยงตามมาด้วยเช่นกัน

 


 

ความเสี่ยงที่คิดไม่ถึงต่อส่วนต่างๆ ของร่างกายจาก THC

 

ความเสี่ยงจากสาร THC
ความเสี่ยงจากสาร THC

 

ความเสี่ยงต่อสมอง
สาร THC ในกัญชาส่งผลกระทบต่อสมองบางส่วน โดยเฉพาะส่วนที่มีผลกระทบต่อ ความสุข ความจำ ความคิด สมาธิ การรับรู้ทางประสาทสัมผัส เวลาของการรับรู้ และการเคลื่อนไหวร่างกาย โดยคำพูดที่ว่า ‘กัญชาทำให้สมองเสื่อม’ ก็ไม่เกินความจริงเลย

ความเสี่ยงต่อหัวใจ
เมื่อเราสูบกัญชา หัวใจเราจะเต้นเร็วขึ้น และความดันโลหิตจะลดลงภายในไม่กี่วินาทีหลังจากการสูบ และสิ่งที่น่ากลัวคือ การสูบครั้งนั้นของเรา อาจทำให้หัวใจเต้นเร็วจึ้น 20 – 100% เลยทีเดียว นอกจากนั้น ในปี 2560 เคยมีบทวิจารณ์ที่ได้ออกมาตีพิมว่า ในชั่วโมงแรกหลังจากเราสูบกัญชา เราจะมีความเสี่ยงในการเกิดภาวะหัวใจล้มเหลวตั้งแต่ 4-5 เท่า เมื่อเทียบกับคนที่ไม่ได้สูญนั้นเอง

ความเสี่ยงต่อปอด
การสูบกัญชาอาจทำให้เกิดอาการทั่วไปอย่าง อาการแสบปาก แสบลำคอ ไอ หรือมีเสมหะ จนไปถึงอาการที่น่ากังวลอย่าง อาการเจ็บหน้าอกอย่างเฉียบพลันบ่อยๆ ความเสี่ยงต่อการติดเชื้อในปอด หรือแม้กระทั่งมะเร็งปอดนั่นเอง

นอกจากนั้นพฤติกรรม หรือวิธีการสูบกัญชา ที่ผู้สูบจะอัดควันเข้าไปในปอดลึกและนานหลายวินาทีทำให้ การสูบกัญชาเพียง 4 มวน อาจเท่ากับ การสูบบุหรี่ 20 มวน เลยนั่นเอง

ความเสี่ยงต่อจิตใจ
นอกจากอาการทางจิตที่จะทำให้เราตื่นตระหนก หวาดกลัว หูแว่ว เห็นภาพหลอนแล้ว ผู้คนมากมายใช้กัญชาเพื่อหยุดความเครียดและความกังวลของพวกเขา และจริงอยู่ที่ว่ากัญชาอาจช่วยพวกเขาอยู่บ้าง แต่เป็นเพียงการยับยั้งชั่วคราวจากความเคลื้มหรือเมาเท่านั้น และเมื่ออาการเหล่านี้หายไป เราอาจจะต้องการการใช้กัญชาในปริมาณที่มากขึ้นนั่นเอง

ความเสี่ยงต่อการพัฒนาการของเด็กและวัยรุ่น
เด็กและวัยรุ่นที่มีอายุไม่ถึง 20 ปี อาจมีความเสี่ยงที่จะเกิดผลกระทบในเชิงลบต่อการพัฒนาการเป็นพิเศษ เนื่องจากสมองของพวกเขานั้น ยังพัฒนาได้ไม่เต็มที่ โดยอาจทำให้มีพัฒนาการที่ล่าช้ากว่าปกติ ปัญหาทางด้านพฤติกรรม รวมถึงทำให้เชาว์ปัญญาลดลง นอกจากนี้ ยังจะส่งผลไปถึงภาวะทางจิตใจ ซึ่งอาจเสี่ยงโรคซึมเศร้าอีกด้วย

ความเสี่ยงต่อการตั้งครรภ์
ถึงแม้คุณแม่หลายๆคนจะไม่ได้สูบกัญชาอยู่แล้ว แต่การรับประทานเข้าไปโดยไม่ระวังก็อาจจะเกิดความเสี่ยงได้เช่นกัน เนื่องจากสาร THC อาจส่งผ่านรก หรือน้ำนมของคุณแม่นั่นเอง
การบริโภคกัญชาเข้าไป อาจทำให้ระดับฮอร์โมน luteinizing hormone (LH) จากต่อมใต้สมองลดลง ซึ่งทำให้ไม่เกิดการตกไข่ แต่กลับมาตกไข่ได้หลังจากผ่านไป 3-4 เดือน
นอกจากนี้ยังมีความเสี่ยงอื่นๆ อย่าง การตั้งครรภ์นอกมดลูก การคลอดก่อนกำหนด ภาวะทารกน้ำหนักร้อย ทารกมีพัฒนาการทางสมองและการเรียนรู้ที่ไม่สมบูรณ์ รวมไปถึงการเสียชีวิตได้อีกด้วย

ความเสี่ยงต่อการแพ้กัญชา
อย่างข่าวที่เราเห็นที่ผ่านมา ในจังหวัดขอนแก่น มีผู้ใช้กัญชาและเกิดอาการแพ้ เข้าโรงพยาบาลกว่า 100  คนในเวลาเพียง 1 อาทิตย์เท่านั้น และโชคดีที่ส่วนมากไม่ได้มีอาการที่รุนแรง แต่แน่นอนว่าคงไม่ต้องรอให้ถึงขั้นแอดมิทเข้าโรงพยาบาลก่อน เราถึงจะต้องรู้เกี่ยวกับผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น โดยผลข้างเคียงที่พบได้ทั่วไปคือ ง่วงนอนมากกว่าปกติ ปากแห้ง คอแห้ง ปวดหรือมึนหัว และอาเจียน
และอาการที่รุนแรงได้แก่ หัวใจเต้นเร็วและรัวผิดจังหวะ,  เป็นลมหมดสติ, เจ็บหน้าอกร้าวไปที่แขน, เหงื่อแตก ตัวสั่น, อึดอัดหายใจไม่ออก, เดินเซ พูดไม่ชัด สับสน, กระวนกระวาย, วิตกกังวล หวาดระแวงไม่สมเหตุสมผล, หูแว่ว เห็นภาพหลอน, พูดคนเดียว, อารมณ์แปรปรวน

****หากมีอาการเหล่านี้ควรไปพบแพทย์ทันที****

 


 

กัญชารักษาซึมเศร้าได้มั้ย?

กัญชาทางการแพทย์
กัญชาทางการแพทย์

 

แต่เดี๋ยวนะ…เราก็เห็นข่าวในอินเตอร์เน็ตอยู่ผ่านๆตา ไม่ใช่หรอ เรื่องประโยชน์นับร้อยของกัญชา ยิ่งช่วงนี้ที่บอกว่า ‘กัญชาใช้รักษาซึมเศร้า’ ได้ มันจริงหรือเปล่า?

นอกจากนี้หลายๆคนยังเชื่อว่า การใช้กัญชาจะทำให้เราหายจากโรคซึมเศร้า  เนื่องจากตอนที่ใช้นั้น เรากำลังมีความสุข….มันจริงแค่ไหนเชียว?

คำตอบ คือ ‘ได้และไม่ได้ในเวลาเดียวกัน’ เนื่องจากเราต้องดูประเภทของกัญชาด้วย

ที่ว่าได้เนี่ย มันคือยังไงกัน?

จริงอยู่ที่ว่า มีงานวิจัยอยู่บ้างที่บอกว่าสาร การใช้สาร CBD อาจช่วยให้กลุ่มอาการโรควิตกกังวลดีขึ้น เช่น ยาจากแพทย์ หรือน้ำมันกัญชา (จากสาร CBD)
แต่ถึงอย่างไรก็ตามการสูบกัญชานั้น ไม่ได้ช่วยรักษา ‘โรคซึมเศร้า’  นอกจากจะไม่ได้รักษา หรือทำให้ดีขึ้นได้แล้ว อาจทำให้โรคซึมเศร้า หนักกว่าเดิมอีกด้วย

งานวิจัยที่ตีพิมพ์ในปี 2014 แบบ meta-analysis ใช้ข้อมูลการติดตามระยะยาวในผู้ป่วย 76,058 คน และมีผลออกมาว่า ผู้ที่ใช้กัญชา มีความเสี่ยงในการเกิดโรคซึมเศร้ามากกว่าคนไม่ใช้ถึง 1.2 เท่า

นอกจากนี้ผู้ที่ใช้กัญชาเป็ประจำ มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคซึมเศร้ามากกว่าผู้ที่ไม่ใช้ หรือใช้ไม่บ่อยครั้งถึง ประมาณ 1.6 เท่า

มาถึงอีกหนึ่งข้อที่เป็นข้อถกเถียงกันอย่าง

 


 

สรุปแล้วกัญชารักษามะเร็งได้รึเปล่า?

กัญชารักษามะเร็งได้หรือเปล่า
กัญชารักษามะเร็งได้หรือเปล่า

 

คำตอบคือ ‘ได้และไม่ได้อีกเช่นเคย’ แต่ครั้งนี้อาจจะแตกต่างออกมากว่าเดิมนิดหน่อย คือ ทั้งกัญชาที่มีสาร THC และ CBD มีงานวิจัยพบฤทธิ์ต้านมะเร็ง แต่เป็นเพียงการศึกษาในหลอดทดลองและสัตว์ทดลอง เท่านั้น ยังไม่มีหลักฐานงานวิจัยที่ชัดเจนในคน

สรุปก็คือ ในปัจจุบันกัญชาไม่สามารถใช้รักษามะเร็งได้

แต่มันก็อาจมีข้อดีอยู่บ้างนะ โดยการใช้กัญชาในการช่วยผู้ป่วยมะเร็งมุ่งเน้นไปที่การทำให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยดีขึ้น เช่น ลดผลข้างเคียงของเคมีบำบัด ช่วยให้นอนหลับ ช่วยให้อยากอาหาร หรือลดอาการคลื่นไส้นั้นเอง
แต่ถึงอย่างไรก็ตาม ยังมีอีกหลายปัจจัยมากที่เราต้องคำนึงถึงอย่าง ปริมาณของกัญชา เนื่องจากแต่ผู้ป่วยแต่ละคนจะตอบสนองต่อฤทธิ์ของกัญชาไม่เหมือนกัน เช่น การให้ยากัญชาในขนาดเดียวกัน ผู้ป่วยบางรายหลับดี บางรายทำให้นอนไม่หลับ

****เพราะฉะนั้นการใช้กัญชาควรอยู่ในการดูแลของแพทย์****

สรุปแล้วการปลดครั้งนี้ ได้คุ้มเสียหรือเปล่า? คงต้องให้ผู้ที่ใช้เป็นผู้ตัดสินใจเอง และหากมีอาการไม่พึงประสงค์ใดๆ สามารถวิเคราะห์อาการเบื้องต้นโดย AI ของ Agnos รวมถึงการปรึกษาแพทย์ออนไลน์ได้ผ่านทาง Agnos application ได้ทั้ง ios และ android ที่ link นี้เลย >> 

 


 

Ref :
https://tmc.or.th/pdf/fact/C02-141062.pdf

กัญชากับการตั้งครรภ์


https://www.cannhealth.org/content/8492/cannhealth
https://www.thansettakij.com/general-news/529015

การเสพกัญชาของคุณ กำลังปกปิดปัญหาสุขภาพจิตอยู่หรือปล่าว


https://lhsthai.com/%E0%B8%9C%E0%B8%A5%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%82%E0%B8%A0%E0%B8%B2/
https://cucans.in.th/docs/%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%8A%E0%B8%B2-%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%8B%E0%B8%B6%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%A8%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%B2/

โรคซึมเศร้า เครียด นอนไม่หลับ การใช้กัญชาในคนรุ่นใหม่


https://cads.in.th/cads/content?id=106
https://www.gpo.or.th/view/55
https://www.bangkokbiznews.com/health/1009751
https://www.nationtv.tv/news/378876358
https://www.bangkokbiznews.com/social/1007009

Tags: